วิธีล้างหน้าตามแนวโพรงขน
สวัสดีค่ะ ผู้เขียนได้ความรู้เรื่องวิธีการล้างหน้าตามแนวโพรงขน มาจากคุณหมอใกล้ตัวท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นบุคคลที่ผู้เขียนรักมาก เนื่องจากผู้เขียนมีปัญหาผิวหน้าเยอะมาก สรุปง่าย ๆ คือผิวไม่สวยนั่นเอง การล้างหน้าตามแนวโพรงขน ช่วยลดการเกิดสิวบนใบหน้าของผู้เขียนได้มากจริง ๆ แต่เนื่องจากผู้เขียนเป็นคนที่เป็นสิวเยอะมาก การล้างหน้าอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้สิวหายได้ จึงล้างหน้าควบคู่ไปกับการไปรักษาสิวกับคุณหมอ ที่เชี่ยวชาญ คือคุณหมอสิริพัฒน์ ซึ่งคุณหมอก็แนะนำได้ดีมามาก ปัจจุบัน ผู้เขียนหายเป็นสิว หน้าใสแล้ว เย้ เย้
โดยทฤษฎีการล้างหน้าตามแนวขนนี้ เจ้าของทฤษฎีคือ คุณหมอสมนึก อมรสิริพาณิชย์ ท่านกล่าวว่า “ทุกครั้งที่ต้องทำอะไรกับผิวหนังไม่ว่าจะเป็น ที่หน้าหรือตัวก็ต้องกระทำ ไปตามแนวโพรงขน ทั้งหมดครับ”
- สำหรับคนที่บอกว่าล้างหน้าตามแนวโพรงขนแล้วรู้สึกเป็นมากกว่าเดิมนั้นให้อดทนและทำ ต่อเนื่องหลายเดือนจึงจะเห็นผลส่วนรอยที่ไม่หายอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อทำการรักษาครับ เพราะการล้างหน้าที่ถูกต้องเป็นเพียงการป้อง กันและรักษาตามธรรมชาติส่วนสิวที่เป็นแล้ว และเป็นมาก ๆ หรือเป็นสิวที่ผิดธรรมชาติอาจต้อง ใช้ การรักษาอื่นๆเข้าช่วยเหลือครับ ทฤษฎีล้างหน้าตามแนวขนเป็นทฤษฎีที่คิดค้นมานานเกือบสิบปี เป็นการเก็บภาพการพัฒนาสิวแต่ละขั้นจนหลุดออกไปโดยมีการใช้ภาพขยายจากกล้องจิ๋วมาช่วยในการคิดค้น โดย นพ.สมนึก อมรสิริพาณิชย์ ลูกศิษย์ Dr. James J Nordlund ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ของ Aron Lerner จาก Yale professor อีกที
โพรงขนสำคัญยังไง ? ” เป็นแกนให้ใยคอลลาเจนและอิสลาสตินมายึดโยงเพื่อเชื่อมเป็นเครือข่ายยึดให้ผิวหนังคงสภาพยืดหยุ่นและแข็งแรงดังที่เป็นอยู่ ” โพรงขนบนใบหน้ามีประมาณ 100,000 โพรง ข้อดี การระบายของน้ำมันและสิ่งสกปรกในโพรงสิวอย่างหมดจด การหลุดลอก จะไม่เกิดจากการหนาตัวของเซลล์ผิวตามมา การไหลเวียนของเลือดใต้ผิวหนังนั้นเป็นไปตามธรรมชาติ ฝ้าจะเกิดได้ยากขึ้น เซลล์ผิวหนังที่อักเสบ ไม่เกิดการบวมของชั้นผิวบางชั้น การที่เกิดเป็นก้อนอุดตัน สิวอุดตันเช่นนี้ก็เกิดจากการที่เราล้างหน้าวนหรือเอามือไปถูทำให้เนื้อเยื่อจับเป็นก้อนเหมือนกับเราปั้นกระดาษเป็นก้อนแล้วห่อเป็นชั้นๆ การล้างไปตามแนวโพรงขนเพื่อให้เยื่อเหล่านี้จะได้สลายและหลุดออกมาได้ตามธรรมชาติ
ตอนนี้ผู้เขียนก็ล้างหน้าตามแนวโพรงขนอยู่ค่ะ หน้าใส เด้งเลยค่ะ
นี่คือภาพแสดงทิศทางของแนวโพรงขนบนใบหน้าค่ะ

เครดิต คุณวันเพ็ญ วุฒิฐิโก จาก gotoknow.org